แผนการเรียนเตรียมนิเทศ

ชื่อแผนการเรียน / ห้องเรียน

  • แผนการเรียนเตรียมนิเทศ (PRE COMMUNICATION ARTS)
  • ห้องเรียน English Program (EP) / Intensive English Program (IEP) / General Program (GP-ปกติ)

 

 โลโก้แผนการเรียน

จำนวนหน่วยกิตที่ต้องเรียน

  • จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 88.5-94.5 หน่วยกิต (วิชาพื้นฐาน 41 – วิชาเพิ่มเติม 47.5-53 หน่วยกิต)

 

รูปแบบของแผนการเรียน

  • รูปแบบ หลักสูตรโรงเรียนโพธิสารพิทยากร ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ช่วงชั้นที่ 4)
  • ประเภทของหลักสูตร หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ
  • ความร่วมมือกับสถาบันอื่น (ภาครัฐ เอกชน หรือชุมชน)
    1. คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
    2. คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    3. …..

 

ความสำคัญของหลักสูตร (หรือแผนการเรียน)  // ศึกษาเกี่ยวกับ หรือจุดเด่น

      ศึกษาเกี่ยวกับพื้นฐานด้านนิเทศศาสตร์และวารสารศาสตร์ นักเรียนจะได้ศึกษารายวิชาที่เกี่ยวข้องกับสายวิชาชีพสื่อสารมวลชน และวิชาที่เตรียมความพร้อมในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมนักเรียนสู่การเรียนในคณะนิเทศศาสตร์และวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน ในระดับอุดมศึกษาต่อไป

 

วิชาเรียนที่น่าสนใจ (ความคาดหวัง)

  • ม.4 วิชาพื้นฐานทั่วไป เช่น ภาษาไทย สังคมศึกษา ภาษาอังกฤษ และวิชาเลือกกลุ่มคณิตศาสตร์เพิ่มเติมและภาษาที่สอง (ฝรั่งเศส,จีน,ญี่ปุ่น) และวิชาพื้นฐานด้านนิเทศศาสตร์ได้แก่ วิชาวิทยุโทรทัศน์ 1-2
  • ม.5 วิชาพื้นฐานในระดับสูงขึ้น เช่น ภาษาไทย สังคมศึกษา ภาษาอังกฤษ และวิชาเลือกกลุ่มคณิตศาสตร์เพิ่มเติมและภาษาที่สอง (ฝรั่งเศส,จีน,ญี่ปุ่น) และวิชาพื้นฐานด้านนิเทศศาสตร์ได้แก่ วิชาการถ่ายภาพเบื้องต้นและการออกแบบกราฟฟิก
  • ม.6  วิชาพื้นฐานเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการสอบเข้าศึกษาต่อในคณะนิเทศศาสตร์ เช่น ภาษาไทย สังคมศึกษา ภาษาอังกฤษ และวิชาเลือกกลุ่มคณิตศาสตร์เพิ่มเติมและภาษาที่สอง (ฝรั่งเศส,จีน,ญี่ปุ่น) และวิชาพื้นฐานด้านนิเทศศาสตร์ได้แก่ วิชาการผลิตสื่อสตรีมมิ่งและการผลิตหนังสั้น

 

คุณสมบัติของผู้เรียน (ใครจะเรียนได้บ้าง เกรดต้องเท่าไหร่)

  1. ผู้เข้าเรียนต้องจบการศึกษาระดับชั้น ม.3 หรือ เทียบเท่า
  2. เป็นผู้มีความสนใจในการศึกษาทางด้านการสื่อสารมวลชน
  3. มีความขยัน มุ่งมั่นและตั้งใจอย่างแท้จริง
  4. เกรดเฉลี่ยรวมระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นไม่ต่ำกว่า 3.00 (EP/IEP) และไม่ต่ำกว่า 2.50 (GP)
  5. เกรดเฉลี่ยสะสมรายวิชาพื้นฐานคณิตหรืออังกฤษ ไม่ต่ำกว่า 3.00 (EP/IEP) และไม่ต่ำกว่า 2.5 (GP) ทั้งนี้กรณีเลือกวิชาเพิ่มเติมคณิตศาสตร์เพิ่มเติมจะใช้คะแนนวิชาคณิตศาสตร์ และ กรณีเลือกวิชาเพิ่มเติมภาษาที่สาม (ฝรั่งเศส,จีน,ญี่ปุ่น) จะใช้คะแนนวิชาภาษาอังกฤษ

การศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัย (ไปศึกษาต่อคณะใดได้บ้าง)

  • คณะนิเทศศาสตร์
  • คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน
  • คณะการสื่อสารมวลชน
  • วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม
  • คณะอักษรศาสตร์
  • คณะมนุษยศาสตร์
  • คณะศิลปศาสตร์
  • คณะนิติศาสตร์
  • คณะสังคมศาสตร์
  • คณะรัฐศาสตร์

 

โครงสร้างหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 88.5-94.5 หน่วยกิต (วิชาพื้นฐาน 41 – วิชาเพิ่มเติม 47.5-53 หน่วยกิต) แบ่งเป็น 3 กลุ่มวิชาดังนี้

  • กลุ่มวิชาพื้นฐาน ประกอบไปด้วยรายวิชาต่างๆดังต่อไปนี้
    1. ภาษาไทย
    2. สังคมศึกษา
    3. คณิตศาสตร์
    4. วิทยาศาสตร์
    5. ภาษาอังกฤษ
    6. ประวัติศาสตร์
    7. สุขศึกษา
    8. ศิลปะ
    9. วิทยาการคำนวณ
    10. การงานอาชีพ
  • กลุ่มวิชาเพิ่มเติม ประกอบไปด้วยรายวิชาต่างๆดังต่อไปนี้
    1. ภาษาไทย
    2. สังคมศึกษา
    3. พลศึกษา
    4. ภาษาอังกฤษเพื่อการศึกษาต่อ
    5. ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
    6. คณิตศาสตร์เพิ่มเติม *
    7. ภาษาฝรั่งเศส *
    8. ภาษาจีน *
    9. ภาษาญี่ปุ่น *

              *** (รายวิชาที่ 6-9 ให้เลือกเรียน 1 รายวิชา)

  • กลุ่มวิชาเฉพาะแผนการเรียน
    1. วิทยุโทรทัศน์ 1-2
    2. การถ่ายภาพเบื้องต้น
    3. การออกแบบกราฟฟิก
    4. การผลิตสื่อสตรีมมิ่ง
    5. การผลิตหนังสั้น

 

ดาวน์โหลดเอกสารหลักสูตร

  • เอกสารโครงสร้างหลักสูตรพื้นฐานระดับชั้น ม.ปลาย คลิกที่นี่ หรือ Scan QR-Code
  • เอกสารโครงสร้างหลักสูตรแผนการเรียน คลิกที่นี่   หรือ Scan QR-Code
  • หลักสูตรนี้ใช้กับห้องเรียน ทั้ง English Program (EP) / Intensive English Program (IEP) / General Program (GP-ปกติ)

 

ห้องเรียนวิชาหลักของแผนการเรียน

 

กิจกรรมในปีที่ผ่านมา

*** รออัพเดรตเพิ่มเติม